บ้านรูปตัว Y

บ้านรูปตัว Y

บ้านรูปตัว Y บ้านแต่ละรูปทรงก็มีข้อดีต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านโมเดิร์นทรงกล่อง บ้านพื้นถิ่นหลังคาจั่ว บ้านรูปตัว L บ้านรูปตัว S ทั้งนี้การเลือกจะสร้างบ้านในรูปแบบไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับความชอบและปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาประกอบกันอย่างเช่น รูปร่างที่ดิน ความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ไปจนถึงภาพรวมของบ้าน

บ้านรูปตัว Y ดีไซน์เฉียบคม

ช่วงนี้เราจะได้เห็นรูปร่างหน้าตาบ้านหลากหลายอย่างที่กล่าวไปแล้ว แต่วันนี้บ้านไอเดียจะพามาดูบ้านอีกทรงที่ไม่ค่อยเห็นกันบ่อยนักคือบ้านรูปร่างคล้ายตัว Y ที่ทำให้เกิดมุม ความเว้าของพื้นที่ที่สามารถใช้งานที่ว่างทำสวนขนาบตัวบ้านได้อย่างน่ามอง ลองเข้ามาชมกันเผื่อจะเป็นอีกหนึ่ง ไอเดียที่จะนำไปสร้างบ้านในแบบที่ชอบกันนะ

10 ข้อควรรู้ เมื่อสร้างบ้านอยู่เอง

1.สำรวจทำเลที่ตั้งหรือที่ดินสำหรับปลูกสร้าง
พื้นที่ปลูกสร้างถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆของ การสร้างบ้าน ผู้ปลูกสร้างบ้านเองควรคำนึงถึงความสะดวกสบายที่พื้นที่นั้นจะเอื้อประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้มากที่สุด เช่น การเดินทางจากบ้านไปที่ทำงาน ไปสถานที่สำคัญต่างๆ การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ และความปลอดภัยของย่านที่อยู่อาศัย รวมถึงเส้นทางเข้าออกบ้านซึ่งทางที่ดีควรมีมากกว่า 1 เส้นทาง

2.ทิศทางแดด ลม การวางแปลนบ้าน
การวางทิศทางแสงแดด ลม ตำแหน่งแปลนบ้านที่ดี จะช่วยให้การอยู่อาศัยนั้นสะดวกสบาย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยทิศทางแสงแดดจะวิ่งเป็น แนวตะวันออกไปทางทิศใต้แล้วสิ้นสุดที่ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับห้องที่สมาชิกในบ้านไม่ได้ใช้เวลาอยู่นานนัก หรือห้องที่ต้องการแสงแดด เพื่อลดความชื้น เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ พื้นที่ซักล้าง ส่วนทิศเหนือเป็นมุมที่ไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดมากสามารถวาง ตำแหน่งให้เป็นห้องนอน และห้องนั่งเล่นได้ ในเรื่องของทิศทางลม บ้านที่ดีควรหันด้าน ยาวของตัวบ้านเข้าหาลม เพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมธรรมชาติ เข้าบ้าน ช่วยระบายความร้านภายใน และลดการใช้พลังงาน จากเครื่องปรับอากาศ

3.จำนวนสมาชิกผู้พักอาศัย และความต้องการพื้นฐาน
จำนวนสมาชิกและความ ต้องการของผู้อยู่อาศัย มีผลต่อการออกแบบบ้าน จำนวนชั้น การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง โดยความต้องการนั้นควรมอง ทั้งความต้องการส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ความต้องการโดยรวมเรื่องสไตล์บ้าน และแนวคิดเรื่องบ้านที่ต้องการ เช่น บ้านประหยัดพลังงาน บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านสำหรับครอบครัวใหญ่ เพื่อการสร้างบ้านในฝันนั้น ตอบโจทย์ทุกความต้องการ

4.ขนาดพื้นที่ใช้สอย
พื้นที่ใช้สอยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบบบ้าน ควรดูรูปแบบและความสัมพันธ์ของห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องครัว ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ ความต้องการของสมาชิกในบ้าน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพักอาศัยและการใช้งานได้มากที่สุด

5.งบประมาณสำหรับการสร้างบ้าน
งบประมาณคือปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การตั้งงบประมาณไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมจะช่วยให้ได้บ้านที่ตอบโจทย์มากที่สุด และไม่เกิดปัญหางบบานปลายภายหลัง ทำให้เจ้าของบ้านมีคำตอบที่ชัดเจนและง่ายต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การเลือกแบบ วิธีการสร้าง ขนาดพื้นที่ รวมถึงการใช้จ่าย เพื่องานตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอำนวย ความสะดวกรอบบริเวณบ้าน และพื้นที่สวนด้วย

6.ช่วงเวลาและขั้นตอนของการสร้างบ้าน
การกำหนดระยะเวลาของการสร้าง บ้าน จะช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้า ในงานก่อสร้างขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ไร้ปัญหาระหว่างงาน เพราะหากระยะเวลาก่อสร้างยืดเยื้อ ช่วงเวลาการทำงานไม่เป็นระบบ ไม่รู้ขอบเขตงานที่แน่นอน อาจมีปัจจัยอื่นที่ก่อให้เกิด ปัญหาลากยาวไม่สิ้นสุดตามมา เช่น ฤดูกาลทำให้บางขั้นตอนของงานสร้างใช้เวลามากกว่าปกติ การดำเนินการด้านเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านไม่รองรับ ขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงการเตรียมงบประมาณสำหรับจ่ายในขั้นตอนต่างๆ สะดุด

บ้านรูปตัว Y

7.ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ
เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มีประสบการณ์ การสร้างบ้านอยู่เองครั้งแรก แต่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง งบประมาณ หรือปัญหาจิปาถะที่อาจเกิดขึ้นระหว่างงานก่อสร้าง ดังนั้นเพื่อให้ความต้องการที่จะสื่อสารกับสถาปนิก วิศวกร หรือคนทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ความเข้าใจตรงกัน เจ้าของบ้านควรให้เวลาศึกษา ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ระหว่าง การพูดคุยวางแผน ทำให้เกิดความราบรื่นมากขึ้น

8.ทิศทางการเปิดประตูภายในบ้าน อะไรนะเรื่องแบบนี้ก็ต้องมีหลักการ ด้วยเหรอมันจะเวอร์ไปไหม ตอบได้ครับว่ามันสำคัณมาก เพราะถ้าเราติดตั้งประตูผิด ทางอาจทำให้น้ำท่วมบ้านกันได้เลยทีเดียวนะครับ จะหาว่าไม่เตือน

เริ่มกันจากประตูหน้าบ้าน ประตูหน้าบ้านด้านที่ จะต้องโดนแดดโดนฝนหรือฝนสาด จะต้องเปิดออกนอกบ้านเท่านั้น เพราะการเปิดออกจะบังคับให้บังใบของวงกบประตูเป็นตัวกันน้ำ ที่จะเข้าบ้านไปโดยปริยาย และควรลดระดับพื้นที่ขอบล่างของประตูลงซัก 1 ซม เพื่อกันน้ำย้อนเข้าบ้านนั้นเอง และที่สำคัญคือประตูหน้าบ้านควรกว้างอย่างน้อย 90 ซม เพื่อเผื่อไว้สำหรับตอนขนของชิ้นใหญ่ๆ เข้าบ้านยิ่งเป็นประตูเปิดคู่ยิ่งดีเลย

9.จะเผื่อความสูงฝ้าเพดานไว้เท่าไหร่ดี โดยปกติความสูงฝ้าโดยทั้งไป(วัดจากระดับพื้นถึงท้องฝ้า)ควรจะสูงไม่น้อยกว่า 2.40 ม.ซึ่งเป็นความสูงที่กำลังสบายไม่อึดอัดหรือรู้สึกโดนกด และประหยัดด้วย เอะ!ยังไง…..มันประหยัดยังไงกัน คำตอบก็คือปัจจุบันวัสดุกรุผนังส่วนใหญ่จะทำออกมาที่ตัวเลขรวมได้ 2.40 พอดีเช่น กระเบื้องขนาด 30ซม x 30ซม หากปู 8 แถวก็จะได้ความสูง 2.40 พอดี เพราะถ้าเราปูแค่ 7 แถวก็จะได้ความสูงฝ้าแค่ 2.10 ม.ซึ่งเป็นระดับฝ้าที่เตี้ยเกินไปนั้นเอง และยังทำให้กระเบื้องไม่เหลือเศษทิ้งให้เสียของ หากต้องกรุในปริมาณมากๆก็ช่วยลดงบในการซื้อวัสดุกรุผนังลงได้อีกเยอะเป็นต้น

10.เลือกใช้มืออาชีพอย่างบริษัทรับสร้างบ้าน
บ้านที่ตอบโจทย์ งบไม่บานปลาย และสร้างบ้านแล้วได้บ้านอย่างที่ใจหวังนั้น บริษัทรับสร้างบ้านยังคงเป็นทางเลือกครองใจคนสร้างบ้าน โดยก่อนตัดสินใจเลือกบริษัท รับสร้างบ้าน ควรทำความรู้จักแต่ละบริษัท เปรียบเทียบผลงาน ความน่าเชื่อถือ บริการก่อนและหลังสร้างบ้านเสร็จ การดูแลรักษา การตรวจสอบข้อบกพร่องการรับประกันโครงสร้างหลังสร้างบ้าน ใบอนุญาตการดำเนินงาน และมาตรฐานของบริษัท รวมถึงเครือข่ายบริษัทวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานก่อสร้าง โดยควรใช้เวลาพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป และรอบคอบมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อยุ่งยากตามมาในภายหลัง

บ้านรูปตัว Y

ไอเดียวบ้านรูปตัว Y ใส่ผนังไม้ โอบล้อมด้วยสวน

บ้านโมเดิร์นสองชั้น นี้เป็นผลงานการออกแบบร่วมกันของสองสถาปนิก Josep+Atelier Haumer ที่ต้องการสร้างบ้านไร้มลพิษ ปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้กลยุทธ์ คือ ใช้หลังคาบ้านสีขาวหรือสีอ่อน ๆ ซึ่งจะช่วยสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดี ภายในอาคารติดฉนวนกันความร้อนและใส่ผนังกระจกเพื่อลดการใช้ไฟแสงสว่าง และเว้นพื้นที่ให้ปลูกต้นไม้ได้รอบ ๆ ด้วยแนวคิดที่ว่า ต้นไม้เพียง 1 ต้นก็ช่วยเติมลมหายใจที่สะอาดให้บ้าน ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดอุณหภูมิรอบบ้านได้ 2-4 องศาเซลเซียส ที่นี่จึงเหมือนการจำลองบ้านให้ทำงานได้เหมือน “ป่า”

ด้วยรูปร่างของอาคารทำให้มีพื้นที่เว้าเข้าไป เหมาะกับการจัดสวนได้หลากหลาย แต่ละสไตล์ให้ภาพรวมของบ้านแตกต่างกัน ถ้าเป็นไม้ทรงสูงจะช่วยให้ตัวบ้านดูสูงโปร่งตามไปด้วย แต่ถ้าจัดเป็นทรงพุ่มก็เปลี่ยนความรู้สึกให้บ้านไปอีกแบบ

บ้านทรงกล่อง

มุมมองจากด้านข้างอาคารจะเห็นเป็นหลังคาปีกผีเสื้อ (Butterfly Roof) ซึ่งเป็นหลังคาแหงนสูงสองผืนหันด้านที่ต่ำลงมาชนกันดูแปลกตาและทันสมัย ปิดรอบบริเวณชั้นบนให้เป็นส่วนตัวด้วยไม้ระแนง แต่เปิดด้านล่างโปร่งเป็นผนังติดกระจกใสทั้งชั้น บ้านออกแบบตัว Y

มุมมองจากทางเข้าหน้าบ้าน จะเห็นความแตกต่างจากสองวัสดุคือ ไม้กับกระจก ที่ทำให้บ้านดูปิดแต่เปิดและมีความสดชื่นจากสวนรอบตัวบ้าน เป็นบ้านรูปทรงโมเดิร์นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและเติมเต็มความเป็นธรรมชาติเข้าไว้ในตัวบ้านได้อย่างแนบเนียน

การจัดตกแต่งภายในเน้นคงความเป็นธรรมชาติของวัสดุ

คอนเซ็ปในการสร้างบ้านและการจัดตกแต่งภายในเน้นคงความเป็นธรรมชาติของวัสดุ เพราะเห็นว่าเนื้อแท้ของวัสดุนั้นเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ สถาปนิกเพียงแต่ทำหน้าที่หยิบยืมมาจัดวางให้ที่อยู่อาศัยเหมาะสมกับการใช้ชีวิตเท่านั้น เราจึงได้เห็นการนำไม้ลายธรรมชาติมากรุผนัง ปูพื้น แบบไม่ทำสี และเปิดบ้านให้รับแสงได้ดี แบ่งสเปซให้มีความสบายใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น

ทั่วบ้านให้สัมผัสที่เป็นธรรมชาติ ดูเป็นมิตรและอบอุ่น ซึ่งตอบโจทย์ที่สถาปนิกและผู้อยู่อาศัยอยากจะให้เป็น เป็นตัวอย่างบ้านรักษ์โลกที่ตกแต่งน้อย ๆ แบบมินิมอล แต่ให้คุณประโยชน์เพื่ออยู่อาศัยได้อย่างสมบูรณ์

อ่านบทความที่หน้าสนใจ : แบบบ้าน Villas Phuket รีวิวบ้าน phuket property บ้านเดี่ยว POOL VILLA บ้านจัดสรร PHUKET VILLA ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต invest in phuket property phuket villa for saleรีวิวบ้าน ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต ซื้อบ้าน ตกแต่งบ้าน