ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ 1

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ ทราบหรือไม่ว่าอุบัติเหตุอย่างการหกล้ม ลื่นล้ม หรือพลัดตก ในกลุ่มผู้สูงวัยส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นภายในบ้าน ดังนั้นการใส่ใจในการจัดพื้นที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงวัยในบ้านจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในห้องนอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้สูงวัยใช้เวลามากกว่าส่วนอื่นๆ ของบ้าน

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ใส่ใจสมาชิกคนสำคัญในครอบครัวของคุณ จึงออกแบบให้บ้านมีห้องอเนกประสงค์บริเวณชั้น 1 เพื่อรองรับครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกผู้สูงวัย สามารถปรับให้เป็นห้องนอนของผู้สูงวัยได้ ลดการ ขึ้น-ลง บันไดซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเหตุไม่คาดฝัน เพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้กับผู้สูงวัย และยังได้อยู่ใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น รีวิวที่พักดอยอินทนนท์

6 ไอเดีย จัดห้องนอนผู้สูงอายุ อยู่สบาย ลูกหลานอุ่นใจ นอกจากการจัดห้องนอนให้อยู่บริเวณชั้น 1 แล้ว การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัยเองก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันในบทความนี้

1. การจัดแสงสว่างภายในห้อง

ห้องนอนผู้สูงอายุควรออกแบบให้มีช่องแสงธรรมชาติหรือหน้าต่างในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี มองเห็นวิวภายนอกบ้าน และยังรับแสงธรรมชาติได้ตลอดวัน โดยเลือกใช้ผ้าม่าน 2 ชั้น คือม่านทึบแสง เพื่อใช้สำหรับช่วงเวลาพักผ่อน และม่านแบบโปร่งเพื่อช่วยกรองแสงไม่ให้ร้อนเกินไป นอกจากนี้ แสงสว่างจากหลอดไฟควรใช้ Indirect Light หรือไฟแบบซ่อน เพื่อไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป หากติดตั้งไฟแบบ Smart light ที่สามารถเปิด-ปิด และตรวจจับความเคลื่อนไหวอัตโนมัติได้ จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

2. เตียงนอน

ควรเลือกเตียงที่ไม่มีเหลี่ยมมุม เพราะสามารถเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ความสูงของเตียงควรอยู่ที่ประมาณ 45-50 ซม. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนั่งและลุกขึ้นยืนได้สะดวก และเว้นที่ว่างข้างเตียงให้กว้างประมาณ 90-100 ซม. เพื่อให้มีช่องว่างในการเดินเข้า-ออก เตียง สำหรับฟูกนอนควรเลือกใช้ฟูกที่มีความนุ่มพอดี ไม่อ่อนยวบหรือแข็งจนเกินไป เพื่อรองรับสรีระผู้สูงวัยได้เหมาะสม ไอเดียแต่งบ้านเก๋ๆ

3. เฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง

การเลือกเฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงวัย ควรคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของผู้สูงวัยและความปลอดภัยในการใช้งานเป็นหลัก ไม่ควรใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีเหลี่ยมมุม ความสูงของเฟอร์นิเจอร์ควรอยู่ในระยะที่เอื้อมถึงพอดี หรือมีความสูงประมาณ 60-75 ซม. หากเป็นตู้หรือลิ้นชักควรมีที่จับเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้แรงมาก

4. ห้องน้ำ

ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำที่ใช้ร่วมกันกับสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้าน หรือห้องน้ำที่อยู่ภายในห้องนอนที่มีความเป็นส่วนตัว เรียกว่าเป็นห้องแรกที่ควรปรับปรุงเพื่อผู้สูงวัย เนื่องจากเป็นห้องที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุดของบ้าน นับตั้งแต่การออกแบบประตู ภายในห้องน้ำควรมีขนาดไม่เล็กเกินไป เพื่อรองรับการใช้วีลแชร์และการเคลื่อนไหวร่างกาย ติดตั้งราวจับ แยกส่วนเปียกและแห้งอย่างชัดเจน โถสุขภัณฑ์ควรสูง 45-50 ซม. อ่างล้างมือความสูงจากพื้น 75-80 ซม. พื้นที่อาบน้ำควรมีขนาดความกว้างไม่ต่ำกว่า 1.1 เมตร มีที่นั่งอาบน้ำความสูง 45-50 ซม. อีกทั้งควรมีราวจับช่วยพยุงตัวที่มีความสูงจากพื้น 65-70 ซม. และควรเลือกวัสดุสำหรับปูพื้นห้องน้ำให้มีค่าความเสียดทานที่เหมาะสม เช่นกระเบื้องกันลื่นเป็นต้น click here : assetdata.land

5. ประตูห้อง

หากผู้สูงวัยมีอายุมากแล้ว ควรเปลี่ยนประตูบ้านแบบธรรมดาให้เป็นประตูบานเลื่อนแบบไม่มีธรณีประตู แต่ให้รางเลื่อนเป็นรางแขวนด้านบน เพื่อลดการใช้แรงและอุบัติเหตุ แต่หากจำเป็นต้องใช้ประตูบานเปิด ควรเลือกใช้ลูกบิดประตูเขาควาย เพราะจับสะดวกมากกว่า และควรเลือกเปิดสวิงออกไปทางนอกห้อง โดยประตูควรมีความกว้างประมาณ 90-120 ซม. รองรับการใช้วีลแชร์และคนช่วยพยุง

6. พื้นห้องและระดับพื้น

ห้องนอนของผู้สูงวัยไม่ควรมีพื้นต่างระดับ หรือวางพรมตกแต่ง เพราะอาจทำให้เกิดการหกล้มหรือสะดุดคะมำได้ วัสดุปูพื้นไม่ควรเลือกวัสดุผิวลื่น แต่ควรใช้พื้นกระเบื้องที่มีค่าเสียดทาน R9 – R12 หรือพื้นลดแรงกระแทก (Absorption floor) เพื่อลดอาการบาดเจ็บจากการหกล้ม

เรื่องน่ารู้สำหรับการจัดห้องนอนให้ผู้สูงวัย

นอกจากเรื่องอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องแล้ว สิ่งสำคัญสำหรับการจัดห้องนอนผู้สูงอายุ คือควรจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีพื้นที่โล่งเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก จัดเก็บสายไฟให้เรียบร้อย และไม่วางของเกะกะ เพื่อป้องกันการหกล้ม

เพราะบ้านคือสถานที่ที่ทุกคนในครอบครัวมีความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยเมื่ออยู่อาศัย แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จึงออกแบบบ้านทุกหลังให้เป็นมิตรกับทุกคนในครอบครัวมากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ด้วยการเตรียมพื้นที่ห้องอเนกประสงค์ในชั้นล่างที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นห้องนอนผู้สูงวัยได้ บนทำเลศักยภาพหลายทำเล และหลายแบรนด์ที่ตรงใจคุณ อาทิ มัณฑนา  สีวลี  ชัยพฤกษ์ และ Villaggio สามารถเยี่ยมชมที่สำนักงานขายได้ทุกวัน เวลา 09.00 – 17.30 น. หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.1198

ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ 2

“ห้องนอนเป็นอีกห้องที่เราควรให้ความใส่ใจ และออกแบบห้องนอนให้เหมาะกับแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะเป็นอีกห้องที่ผู้สูงอายุใช้บ่อยไม่แพ้ ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหารเลยทีเดียว

สำหรับแบบห้องนอนของผู้สูงอายุนั้น ก็มีรายละเอียดที่ต้องคำนึงถึงมาก ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และควรเลือกเป็นชั้นล่างเพื่อจะได้ไม่ต้องขึ้นลงบันไดบ่อยๆ และยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่อยากกล่าวไว้ ดังนี้

 

พื้นที่ในห้องนอน

– ควรมีพื้นที่อย่างน้อย 10 – 12 ตร.ม. สำหรับ 1 คน (ไม่รวมพื้นที่ห้องน้ำ) หรือ 16 – 20 ตร.ม. สำหรับ 2 คน เพื่อให้มีพื้นที่ในสำหรับงานอดิเรก และพักผ่อน
– ถ้าใช้รถเข็นต้องมีพื้นที่ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 150 ซ.ม. ให้กลับรถเข็นได้สะดวก
– ใช้วัสดุปูพื้นโทนสว่าง ที่ไม่ลื่น ไม่แข็งเกิน มีพื้นผิวเสมอกัน หลีกเลี่ยงการมีระดับ (Step) หรือพรม เพื่อป้องกันการสะดุด
– อยู่ใกล้ห้องน้ำ เพื่อสะดวกในการใช้งาน

เตียงนอน

ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร มีพื้นที่ว่างโดยรอบเตียงสามด้านขั้นต่ำ 90 เซนติเมตร ระดับเตียงควรสูง 40 เซนติเมตร (สูงเท่าระดับพื้นที่ข้อพับเข่า) หัวเตียงควรมี โทรศัพท์ และสัญญาณฉุกเฉิน

ประตู – หน้าต่าง

– ใช้ประตูแบบบานเลื่อนที่ไม่มีรางที่พื้น และกว้างพอสำหรับให้รถเข็นผ่าน
– ลูกบิดประตูแบบก้านโยก เพื่อให้ง่ายต่อการเปิดปิด ไม่ต้องอาศัยแรงมาก
– หน้าต่าง ควรสูงจากพื้นไม่มาก หรือประมาณ 50 ซม. เพื่อให้เห็นทิวทัศน์ภายนอก รวมทั้งได้รับแสงสว่าง และระบายอากาศได้ดี

เฟอร์นิเจอร์

– ลบเหลี่ยมมุม เพื่อป้องกันอันตราย
– ตู้เสื้อผ้า แบบบานเลื่อน ที่เลื่อนง่ายไม่หนักเกินไป ราวแขวน และชั้นเสื้อผ้า อยู่ในระดับที่ผู้สูงอายุเอื้อมถึง
– ควรมีกระจกเงาในห้อง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ส่องตนเอง เป็นการกระตุ้นการรับรู้สภาพปัจจุบัน

แสงสว่าง
เลือกใช้แสงนวลเพื่อความสบายตาในการมองเห็น และมีแสงสว่างเพียงพอในการทำกิจกรรมต่างๆ

เท่านี้เราก็สามารถดูแลพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เพื่อให้ท่านมีความสุขใจ และปลอดภัย ด้วยแบบห้องนอนที่เหมาะสมได้แล้ว

 ออกแบบห้องนอนผู้สูงอายุ 3