บ้านไม้ชานระเบียงกว้าง พื้นที่ครอบครัวที่แสนสุขใจ
บ้านไม้ชานระเบียงกว้าง การปลูกบ้าน หรือสร้าง บ้านใหม่ส่วนใหญ่แล้ว คนมักจะนิยมสร้างบ้านเป็น บ้านไม้ กับ บ้านปูน ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ถือเป็นวัสดุพื้นฐาน ที่คนนิยมใช้สร้างกัน ด้วยเหตุผลหลักคือ ให้ผู้อยู่อาศัยอยู่ได้สะดวกสบาย อากาศถ่ายเท Luxury Villa Chiang Mai
แต่ทั้งสองอย่างนี้ ก็มีรูปลักษณ์คุณสมบัติ ที่แตกต่างกันออกไปที่ไม่เหมือนกัน โดยเจ้าของบ้าน ควรมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนว่า บ้านที่เราจะอยู่นั้น เหมาะกับวัสดุชนิดใดมากกว่ากัน ซึ่งเราจะมีข้อ เปรียบเทียบพิจารณากันว่าบ้านไม้ กับบ้านปูน มีคุณสมบัติ แตกต่างกันอย่างไร โดยข้อมูลต่อไปนี้จะ เป็นข้อมูลเบื้องต้น ที่สามารถดูไว้เป็นตัวอย่าง ก่อนการสร้างบ้าน เพื่อประโยชน์สุดของคุณ
อย่างแรกหากพูดถึง เรื่องการถ่ายเท อากาศภายในบ้าน บ้านไม้จะสามารถ ถ่ายเทอากาศ ได้ดีมากกว่าบ้านปูนทั่วไป เพราะมีช่องที่ลม สามารถพัดผ่านเข้า ออกได้มากกว่า บรรยากาศภายใน บ้านไม้จึงมาพร้อม ความรู้สึกที่สดชื่นอย่างเป็นธรรมชาติ และโปร่งสบาย ไม่อึดอัด ส่วนบ้านปูนถึงแม้ จะไม่โปร่งสบายเท่าบ้านไม้ แต่หากมีการจัดวางในทิศทางลมที่เหมาะสม หรือทำช่องอากาศที่มีขนาด กว้างขวางมากขึ้นก็ จะช่วยให้บรรยากาศ ภายในบ้านปูนเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
ส่วนบ้านไม้ปัญหา ที่ยังพบบ่อยคือ เกิดปัญหาเรื่องปลวกกัดกิน และทำความเสียหายให้บ้าน ได้มากกว่าบ้านปูน แต่ บ้านไม้ ก็เป็นบ้าน ที่มาพร้อมความแข็งแรง ทนทาน และสามารถ ยืดหยุ่นได้มากกว่า โดยเฉพาะหาก เกิดแผ่นดินไหว บ้านปูนสามารถ เกิดรอยร้าวได้ ง่ายกว่าบ้านไม้
สำหรับเรื่องของราคา แน่นอนว่าแบบบ้านไม้ ย่อมมีราคาที่สูงมากกว่า และหากเป็นไม้ ที่มีคุณภาพดีประเภทไม้เนื้อแข็งอย่างไม้สักทอง ก็ยิ่งมีต้นทุนด้านราคา ที่สูงมากขึ้นกว่าบ้านปูน อีกทั้งการก่อ สร้างบ้านไม้ยัง เป็นงานที่ใช้ฝีมือแบบช่างโบราณ ค่อนข้างมาก จึงทำให้ราคาสูงมากกว่า บ้านปูนในปัจจุบันที่มี การพัฒนาด้วยเทคโนโลยีทันสมัยต่างๆ มากมายที่ช่วย ทำให้สามารถก่อสร้างได้ ในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่เปลืองค่าแรงงานมากนัก
บ้านไม้สามชั้น ผนังกระจกใส
ถ้าเรามีบ้านในไซต์ ที่ทิวทัศน์สวยงาม แต่ตัวบ้านกลับ ดูปิดทึบทุกด้าน ก็คงจะเสียดายสิ่งดี ๆ ที่บริบทมอบให้ สำหรับบ้านบางหลัง ที่อาจจะสร้างมานานแล้ว ไม่มีนักออกแบบ หรือ สถาปนิกมาช่วยให้คำแนะนำ ว่าตรงไหนควรปิด ตรงไหนควรเปิด และยิ่งสร้างอยู่ใน ถิ่นทุรกันดารห่างไกลผู้คน ใครจะคิดว่าวันหนึ่งที่ ตรงนี้จะกลายเป็นจุดที่น่าอิจฉา เมื่อเวลาผ่านไป เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ ในประเทศบราซิลที่ สร้างมานานนับสิบๆ ปี เมื่อถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยนให้ ตอบโจทย์การใช้ชีวิต และดึงประโยชน์จากสิ่ง ที่มีมาใช้อย่างเต็มที่
Casa da Silveira ได้รับการออกแบบโดย Helena ในปี 2000 ในรูปแบบบ้านเคบินชั้นเดียวขนาดกะทัดรัด วัสดุหลัก ๆ ประกอบด้วยหินและไม้ ภายในมีห้องนอน และห้องน้ำ มองรวม ๆ แล้วไม่ได้โดดเด่น ในเรื่องดีไซน์หรือขนาด ทำให้บ้านไม่ได้ รับประโยชน์จากแสง ลม และวิวไปอย่างน่าเสียดาย เพราะไซต์อยู่ท่ามกลาง ธรรมชาติบน เขาที่ค่อนข้างสูง สามารถมองเห็น ทะเลที่อยู่ไกลๆ ได้เต็มตา
ก่อนการปรับปรุงสถาปนิก ได้สำรวจพื้นที่และมุมมองทั้งหมด แล้วจึงกระบวนการ ของการพัฒนาที่สร้างขึ้นในพื้นที่ โดยกำหนดความสัมพันธ์ กับไซต์ใหม่ กรอบภูมิทัศน์ใหม่ และสัดส่วนใหม่ พร้อมไปกับปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้น ที่นี่อย่างมีคุณภาพเช่นกัน บ้านจึงจำเป็นต้อง ได้รับความสะดวกสบาย เพิ่มขึ้น ทีมงานเติมพื้นที่ใน แนวตั้งให้กลายเป็นบ้าน 3 ชั้นไล่เรียงขึ้นไป ตามลักษณะที่ดินที่ เป็นเนิน ชั้นล่างสุดเป็นผนังหิน มีบันไดไม้เชื่อมต่อ กับสองชั้นบน ซึ่งเป็นบ้านโครงสร้างไม้ ผนังกระจกโปร่งๆ ในชั้น 2 เหมือนบ้านมีใต้ถุนเปิดให้ลม ผ่านได้ตลอดเวลา
ความโปร่งใสของผนังอาคารและประตูหน้าต่างกระจกใส สวยๆ
อนุญาตให้บ้านให้ รวมเข้ากับภูมิทัศน์ธรรมชาติ ได้อย่างแนบเนียนรอบด้าน จากในบ้านสามารถ มองเห็นพืชพันธ์ุพื้นเมืองที่เติบโต อย่างสวยงาม ภายในเป็นแปลนแบบ open plan รวมฟังก์ชันครัว มุมทานข้าวและนั่งเล่นไว้ในชั้นนี้ สร้างพื้นที่ที่ยืดหยุ่น ได้มากกว่าบ้านที่ก่อปิด แยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย และดึงแสง ลม ให้กระจายเข้าไปสร้างสภาวะ สบายภายในได้เต็มที่ มากกว่าที่เคย แบบบ้านเดี่ยว สวยสะดุดตา ราคาประหยัด !!
พื้นที่ใช้งานไม่ได้มีแค่ ในบ้านเท่านั้น ยังขยายออกไปที่ชานระเบียง ยื่นออกมาในชั้นสอง และชั้น 3 ยิ่งทำให้บ้านกับต้นไม้และทะเลขยับ เข้าใกล้กันมากขึ้นอีกนิด สำหรับช่วงของวันที่ แดดจัดโดยเฉพาะยามบ่าย ก็มีม่านมูลี่ไม้ไผ่ดึงลงมาปิด บังพรางแสงได้ พร้อมกับให้ความ เป็นส่วนตัวกับบ้าน ในเวลาที่ต้องการ
อยากเห็นท้องฟ้าให้กว้าง และไกลขึ้น ซึมซับความระยิบระยับบน ผิวหน้าน้ำทะเล ก็อาจจะขยับ ออกมานั่งเล่นที่ชานระเบียงชั้น 2 ซึ่งจะมีระเบียงที่ เชื่อมต่อออกมาเป็น ชานก่อเตาสำหรับปิ้งย่างเอาไว้ เมื่อวันหยุดมาถึงก็ชักชวนเด็ก ๆ ให้มาทำอาหารทานกันสนุก ๆ สร้างประสบการณ์ดี ๆ ร่วมกัน หรือจะรองรับการ มาเยือนของเพื่อน ๆ ก็สามารถมา พร้อมกันได้นับสิบๆ คน ส่วนในชั้น 3 จะมีห้องนอนเปิดออก มายังระเบียงชมวิว อย่างเป็นส่วนตัวแม้ในวันที่อาจมี การสังสรรค์ก็ ไม่ต้องปะปนกับใคร
บ้านมีใต้ถุน นั้นเหมาะกับ สภาพอากาศร้อนชื้น เพราะช่องว่างข้างล่าง ไม่ขวางทางน้ำ และอากาศไหลผ่านได้ง่าย ช่วยลดความชื้น และเพิ่มความเย็นใต้อาคารด้วย ใต้ถุนบ้านที่ดีควร มีความสูงในระดับที่ สามารถเดินผ่านได้สะดวกโดยไม่ต้องก้ม อาจจะประะมาณ 2-2.5 เมตรก็ได้ อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่อาจดูว่า บ้านมีใต้ถุนเชย และค่อยมีความ หลากหลายในการใช้งาน
สถาปนิกบางคนจึง ออกแบบบ้านโดย ใช้เสาเป็นตัวรับน้ำหนัก ทำให้ผนังมีอิสระมากขึ้น สามารถใส่ผนังหรือประตูกระจกบานเลื่อน ได้ยาวจนดูเหมือนไม่มีผนัง หากเป็นบ้าน 2 ชั้นก็จะกลายเป็น บ้านมีใต้ถุนในขณะที่เลือกเปิด-ปิด ตามสถานการณ์ได้ดีกว่า
เรื่องควรรู้ เมื่อสร้างบ้านอยู่เอง
- 1.สำรวจทำเลที่ตั้งหรือที่ดินสำหรับปลูกสร้าง
พื้นที่ปลูกสร้างถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของการสร้างบ้าน ผู้ปลูกสร้างบ้านเองควรคำนึงถึงความสะดวกสบายที่พื้นที่นั้นจะเอื้อประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้มากที่สุด เช่น การเดินทางจากบ้านไปที่ทำงาน ไปสถานที่สำคัญต่างๆ การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ และความปลอดภัยของย่านที่อยู่อาศัย รวมถึงเส้นทางเข้าออกบ้านซึ่งทางที่ดีควรมีมากกว่า 1 เส้นทาง
- 2. ทิศทางแดด ลม การวางแปลนบ้าน
การวางทิศทางแสงแดด ลม ตำแหน่งแปลนบ้านที่ดี จะช่วยให้การอยู่อาศัยนั้นสะดวกสบาย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยทิศทางแสงแดดจะวิ่งเป็นแนวตะวันออกไปทางทิศใต้แล้วสิ้นสุดที่ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับห้องที่สมาชิกในบ้านไม่ได้ใช้เวลาอยู่นานนัก หรือห้องที่ต้องการแสงแดดเพื่อลดความชื้น เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ พื้นที่ซักล้าง
ส่วนทิศเหนือเป็นมุมที่ไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดมากสามารถวางตำแหน่งให้เป็นห้องนอน และห้องนั่งเล่นได้ ในเรื่องของทิศทางลม บ้านที่ดีควรหันด้านยาวของตัวบ้านเข้าหาลมเพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมธรรมชาติเข้าบ้าน ช่วยระบายความร้านภายใน และลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ
- 3.จำนวนสมาชิกผู้พักอาศัย และความต้องการพื้นฐาน
จำนวนสมาชิกและความต้องการของผู้อยู่อาศัย มีผลต่อการออกแบบบ้าน จำนวนชั้น การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง โดยความต้องการนั้นควรมองทั้งความต้องการส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ความต้องการโดยรวมเรื่องสไตล์บ้านและแนวคิดเรื่องบ้านที่ต้องการ เช่น บ้านประหยัดพลังงาน บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านสำหรับครอบครัวใหญ่ เพื่อการสร้างบ้านในฝันนั้นตอบโจทย์ทุกความต้องการ
- 4.ขนาดพื้นที่ใช้สอย
พื้นที่ใช้สอยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบบบ้าน ควรดูรูปแบบและความสัมพันธ์ของห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องครัว ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ ความต้องการของสมาชิกในบ้าน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพักอาศัยและการใช้งานได้มากที่สุด
- 5.งบประมาณสำหรับการสร้างบ้าน
งบประมาณคือปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การตั้งงบประมาณไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมจะช่วยให้ได้บ้านที่ตอบโจทย์มากที่สุด และไม่เกิดปัญหางบบานปลายภายหลัง ทำให้เจ้าของบ้านมีคำตอบที่ชัดเจนและง่ายต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การเลือกแบบ วิธีการสร้าง ขนาดพื้นที่ รวมถึงการใช้จ่ายเพื่องานตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอำนวยความสะดวกรอบบริเวณบ้าน และพื้นที่สวนด้วย
- 6.ช่วงเวลาและขั้นตอนของการสร้างบ้าน
การกำหนดระยะเวลาของการสร้างบ้าน จะช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าในงานก่อสร้างขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ไร้ปัญหาระหว่างงาน เพราะหากระยะเวลาก่อสร้างยืดเยื้อ ช่วงเวลาการทำงานไม่เป็นระบบ ไม่รู้ขอบเขตงานที่แน่นอน
อาจมีปัจจัยอื่นที่ก่อให้เกิดปัญหาลากยาวไม่สิ้นสุดตามมา เช่น ฤดูกาลทำให้บางขั้นตอนของงานสร้างใช้เวลามากกว่าปกติ การดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านไม่รองรับขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงการเตรียมงบประมาณสำหรับจ่ายในขั้นตอนต่างๆ สะดุด
- 7.ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ
เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มีประสบการณ์การสร้างบ้านอยู่เองครั้งแรก แต่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง งบประมาณ หรือปัญหาจิปาถะที่อาจเกิดขึ้นระหว่างงานก่อสร้าง ดังนั้นเพื่อให้ความต้องการที่จะสื่อสารกับสถาปนิก วิศวกร หรือคนทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ความเข้าใจตรงกัน เจ้าของบ้านควรให้เวลาศึกษา ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ