บ้านมินิมอลคอนกรีตเปลือย

บ้านมินิมอลคอนกรีตเปลือย 3

บ้านมินิมอลคอนกรีตเปลือย

บ้านมินิมอลคอนกรีตเปลือย 1

บ้านมินิมอลคอนกรีตเปลือย บ้านโมเดิร์น ความเรียบง่ายที่ใคร ๆ ก็หลงรัก

บ้านคอนกรีตหลังนี้ สร้างขึ้นในเขตที่อยู่อาศัยที่ได้รับการพัฒนาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาฟองสบู่แตกของญี่ปุ่น จุดนี้เคยเป็นชนบทที่งดงาม หลังจากการพัฒนาเป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยก็แบ่งออกเป็นบล็อค เพื่อให้เจ้าของที่ดินล้อมรั้วสร้างบ้านเดี่ยวแยกไปเป็นหลัง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นบ้านหลังคาทรงจั่วที่เราคุ้นตากันดี แต่บ้านนี้ต่างออกไปด้วยความทันสมัยของรูปทรงที่ลดทอนจนเหลือเพียงโครงสร้างที่เป็นเส้นสายชัดเจน แต่ก็ไม่แปลกแยกจากบ้านหลังอื่น ๆ

ออกแบบ : Hata Architect and Associates
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านสองชั้นหลังคาจั่วสไตล์โมเดิร์นมินิมอล ขนาด  78.43 ตารางเมตร สร้างใน Otsu ประเทศญี่ปุ่นจ้าวแห่งความมินิมอล ที่ลดทอนรายละเอียดเท่าที่จะทำได้แต่ยังคงความเป็น “บ้าน” ที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิตได้สบาย วัสดุหลักมีเพียงคอนกรีตสีเทาเรียบเย็นและไม้ที่แทรกเข้ามาในส่วนของกรอบช่องเปิดรอบบ้าน 

ทำให้บ้านดูสวยเรียบง่ายแบบไม่ต้องเยอะ ในครั้งแรกที่เห็นแบบ เจ้าของบ้านเห็นว่าพื้นที่บ้านมากไป ทำให้มีห้องที่ไม่ได้ใช้งาน และไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก นักออกแบบจึงแก้ปัญหาโดยทำชั้นล่างให้เล็กกว่าชั้นบน และติดผนังกระจกเพื่อให้ต่อเชื่อมกับสวนได้ดีขึ้น

กันสาดแผ่นคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ยื่นออกมาคลุมรอบบ้านบนชั้นสอง ช่วยปกป้องบ้านจากแดดและฝน นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นดาดฟ้าโล่ง ๆ เอาไว้นั่งเล่นชมวิวสูง และพื้นที่จัดสวนไปในตัว ดูเผิน ๆ เหมือนบ้านชั้นบนกำลังลอยตัวอยู่เหนือแผ่นคอนกรีต

ทางเข้าบ้านมี 2 ด้าน คือด้านหน้า และบันไดเข้าสู่ดาดฟ้าจากด้านข้าง บานหน้าต่างประตูแบบ Oversize ไม่มีกันสาดหรือคิ้วบัวให้ดูรกตา สร้างความโดดเด่นให้บ้านเรียบ ๆ และหนาหนักดูโปร่งเบาขึ้น

การตกแต่งภายในยังคงเน้นโทนสีคอนกรีตและไม้ ตัดด้วยสีดำและโลหะแวววาว สถาปนิกใช้รูปร่างหลังคาจั่วแหลมสูงนี้ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ภายในของบ้าน ผ่านการสร้างห้องโถงกลางที่เจาะโปร่งขึ้นไปเป็น 2 เท่าของบ้านขึ้นไปติดฝ้าเพดาน หรือที่เราเรียกว่า Doouble space  เป็นที่ว่างขนาดใหญ่ทำให้บ้านดูโอโถงและระบายความร้อนได้ดี

รอบ ๆ ช่องว่างกลางบ้านด้านล่างจัดเป็นพื้นที่ครัว มุมนั่งเล่น ด้านข้างเป็นห้องส่วนตัว ด้านบนมีบันไดขึ้นไปสู่ชั้นลอยที่มองเห็นกันได้ไม่ว่าจะอยู่ชั้นล่างหรือชั้นบน ทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในบ้านยิ่งใกล้ชิด

โซนครัวบิวท์ไอส์แลนด์สีเทาดำ ชุดครัวบานไม้แทรกตัวอยู่บนผนังงคอนกรีต ให้บรรยากาศที่ดูเรียบง่ายและสงบ สถาปนิกตัดความนิ่งของมุมนี้ด้วยการใส่ชุดโต๊ะทานข้าวขนาด 4 ที่นั่ง ท็อปไม้สีน้ำตาลอ่อน ๆ เก้าอี้บุผ้าสีเหลืองไข่ไก่ดูนุ่มนวล บ้านทรงกล่อง 2 ชั้น

ชั้นบนทำทางเดินรอบ ๆ ช่องว่างกลางบ้าน ทั้งสองด้านของบ้านเป็นห้องนอนที่มีบานเลื่อนทำจากไม้อัด ทำหน้าที่เป็นทั้งประตูและผนัง เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่พักผ่อน

ห้องน้ำคอนกรีตเล็ก ๆ ติดกระจกเงาบานใหญ่ เพื่อหลอกตาให้ดูเหมือนห้องกว้างขึ้น ผ้าม่านสีเหลือบฟ้า เขียว เหลือง ทำให้ห้องดูมีสันสันน่าสนุกขึ้น

ยามค่ำเปิดไฟส่องสว่างที่ทำให้บ้านปูนเปลือยเรียบ ๆ ดูมีเสน่ห์มากขึ้น ด้วยตัวของวัสดุเอง โดยที่แทบจะไม่ต้องตกแต่งอะไรเพิ่มเติม

บ้านมินิมอลคอนกรีตเปลือย 2

วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นน่าตื่นเต้น และรุ่มรวยด้วยเอกลักษณ์ โดยเฉพาะบ้านทั้งยุตเก่าที่สวยงาม ประณีตในงานฝีมือ หรือบ้านใหม่ที่เผย ให้เห็นความกล้าทดลองของพวกเขาแม้ใน สิ่งที่ธรรมดาที่สุด อย่างการการออกแบบบ้านที่เรียบง่าย ก็ไม่ไดง่ายแบบไม่มีรายละเอียดอะไรเลย เพราะในความน้อยก็ยังขึ้นชื่อว่ามาพร้อมกับฟังก์ชัน การทำงานที่ตรงไปตรงมา เหมือนเช่น บ้านในอากิชิมะโดย Office M-Saแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึง ความเรียบง่ายภายนอกทั้งสีและวัสดุ แต่ภายในกลับซ่อน แนวคิดให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ และการใช้งานในอนาคตได้อย่างคาดไม่ถึง

Office m-sa ออกแบบ “Wakuwakusuru” Tsukuri no House บ้านพื้นที่ 110 ตารางเมตร ที่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น การออกแบบเริ่มต้นด้วยการสนทนากับเจ้าของบ้าน ที่มีความต้องการค่อนข้างแปลก คือ“ต้องการอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นแตกต่างกัน

ตอบสนองต่อเวลาไม่เฉพาะวันนี้ และต้องใช้งานได้ทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ” สถาปนิกจึงตีโจทย์บ้านซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมที่ปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและชีวิต เป็นบ้านสองชั้นผสมผสานระหว่างคอนกรีต ไม้ กระจก มีบันไดเดินเข้าสู่ดาดฟ้าได้โดยตรง

ระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง จะเห็นว่างานหลัก ๆ จะมีสองส่วนคือ ส่วนฐานรากและองค์ประกอบของบ้านหลัก ๆ จะเป็นวัสดุคอนกรีตเปลือย แล้วค่อยเติมส่วนที่เลือด้วยไม้และกระจก

ทีมงานชั่งน้ำหนักระหว่างความแตกต่างและความแข็งแกร่งของคอนกรีต และความอบอุ่นเป็นมิตรของไม้อย่างพิถีพิถัน รวมถึงในแง่ของพื้นผิวและความทนทาน ตามแผนภาพรวมใหญ่ของบ้านหลังนี้ ต้องการการทำให้บ้านน่าอยู่ในปัจจุบัน และพร้อมสำหรับอนาคต ดังนั้นรากฐานต้องทนทานต่อการสึกหรอได้ดี เช่น โครงสร้างคอนกรีตที่อาจยืนยาวอยู่ในบ้านได้นับสิบนับร้อยปี ก็เลือกใส่ในจุดที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง

อาทิ ฐานราก บันได ซุ้มประตูเป็นโครงหลัก ๆ สามารถใช้เป็นรากฐานสำหรับบ้านใหม่ สนามเด็กเล่น หรือเวทีสำหรับการแสดงในอนาคต ส่วนโครงสร้างที่สามารถขยายหรือรื้อถอนได้ภายในไม่กี่ปีหากมีความจำเป็นต้องขยับขยายปรับเปลี่ยนก็ใช้งานไม้เป็นหลัก บันไดคอนกรีดที่ต่อเชื่อมกับซุ้มประตูโค้ง ถึงจะไม่มีสีสัน รูปแบบเรียบๆ แต่กลับกลายเป็นจุดสนใจที่ชวนให้โฟกัสสายตาในกลางบ้าน

หลังจากส่วนคอนกรีตเรียบร้อย สถาปนิกก็เติมให้ส่วนหลังคาและผนังล้อมอยู่ระหว่างฐานรากเพื่อให้เกิดช่องว่างภายใน ไม่มีเสาบ้าน ให้พื้นที่บ้านเชื่อมต่อกันอย่างหลวมๆ ไม่มีขอบเขตที่แน่นอนเหมือนบ้านที่มีเสาแล้วก่อห้องปิดทึบแยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บ้านยืดหยุ่น

สามารถเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตารางกิจกรรมรายวันที่อาจไม่เหมือนกัน บ้านในอากิชิมะนั้นจึงเรียบง่ายแต่มีประโยชน์ใช้สอย การจัดวางและห้องต่างๆ ให้ความอบอุ่นเรียบง่ายซึ่งครอบครัวสามารถกลับบ้านมาใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย

ผนังในส่วนที่เป็นงานไม้อัด ไม่ได้หมายความว่าไม่แข็งแรง เพราะหากเลือกไม้อัดไส้ไม้ที่มีความหนาตามสเปคการใช้งาน จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่แพ้ไม้แท้ และยังสามารถดัดโค้ง ตัด ใช้งานได้หลายรูปแบบ หากวันไหนสมาชิกในบ้านเพิ่มขึ้น ผนังที่ไม่จำเป็นก็สามารถรื้อถอนได้ง่ายโดยไม่กระทบต่อโครงสร้างหลักของบ้าน

สีเทาและพื้นผิวของคอนกรีต หากใช้ในบริเวณกว้างเกินไปก็อาจดูแข็งกระด้าง เมื่อถูกจับคู่กับไม้ทำให้ความอบอุ่นมาลดทอนความดิบได้อย่างลงตัวพอดี บันไดที่ตั้งอยู่นอกบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ยจะเรียกว่า “บันไดโจร” ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบันไดนอกบ้านเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงตัวบ้านบริเวณชั้นบนได้ง่าย การทำบันไดด้านนอกมีข้อดีตรงที่สามารถขึ้นลงได้โดยไม่ต้องเดินผ่านลัดเข้าไปในตัวบ้าน จึงยังคงความรู้สึกเป็นส่วนตัว แต่ก็ต้องแน่ใจว่าบ้านมีระบบความปลอดภัยของประตูหน้าต่างอย่างดี

บ้านมินิมอลคอนกรีตเปลือย 3