ถังดักไขมัน อุปกรณ์ชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในบ้าน แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับบ้านหรือคอนโดตนเอง ลองมาดูว่า ถังดักไขมัน มีกี่แบบ วิธีการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย วิธีติดตั้งถังดักไขมัน วิธีบำรุงดูแลรักษา และหาคำตอบว่าทำไมแต่ละบ้านจึงสมควรติดตั้งถังดักไขมัน เกี่ยวข้องอย่างไรกับปัญหาน้ำท่วม บทความนี้มีรายละเอียดครบถ้วน
ถังดักไขมัน คืออะไร
ถังดักไขมันหรือบ่อดักไขมัน คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการดักจับไขมันจากท่อน้ำทิ้งภายในบ้านทั้งหมด เพื่อแยกส่วนไขมันออกจากน้ำก่อนทำการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ วิลล่า
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ แบบตั้งพื้น (บนดิน) และแบบฝังดิน โดยการเลือกใช้ถังดักไขมันนั้น ควรทำการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะและพื้นที่ในการใช้งาน เช่น
1. แบบตั้งพื้น (บนดิน)
เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด เช่น ห้องพัก คอนโด หรือทาวน์โฮม เนื่องจากมีวิธีติดตั้งถักดักไขมันที่ค่อนข้างง่าย และใช้พื้นที่น้อย
2. แบบฝังดิน
เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีพื้นที่กว้างและเพียงพอในการฝังถังดักไขมันไว้ใต้ดินบริเวณนอกตัวบ้าน เช่น บ้านเดี่ยว 1 ชั้น หรือ บ้านเดี่ยว 2 ชั้น
ทำไมแต่ละบ้านจึงควรมี ถังดักไขมัน
ถังดักไขมัน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยดักจับไขมันไม่ให้ปะปนไปกับน้ำที่ผ่านการใช้งานต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นน้ำทิ้งที่ใช้จากการอาบน้ำหรือน้ำทิ้งที่ใช้แล้วจากอ่างล้างจานในห้องครัวก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดท่อระบายน้ำอุดตัน ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดน้ำท่วม
โดยของเสียประเภทไขมัน หากปล่อยทิ้งสะสมประมาณ 1 เดือน จะจับตัวเป็นก้อนชั้นหนาคล้ายสบู่ แม้ว่าจะไม่แข็งตัวเท่าสบู่ แต่หากเกิน 10 เซนติเมตร จะมีผลทำให้น้ำไหลผ่านยากมาก
นอกจากนี้ ถังดักไขมันยังช่วยในเรื่องของการป้องกันของแหล่งสะสมโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากไขมันอุดตันในท่อน้ำทิ้งและกลิ่นเหม็นอันไม่พึงประสงค์จากน้ำที่น้ำเสียจากเศษอาหารรวมถึงไขมันจากการทำอาหารที่ตกค้างภายในท่อเกิดการเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นย้อนกลับเข้ามาจุดต่าง ๆ ของท่อระบายน้ำภายในบ้านได้ดีอีกด้วย
การเลือกขนาดถังดักไขมันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน
การเลือกขนาดถังดักไขมันให้เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีผลต่อการดูแลและบำรุงรักษา หากเลือกใช้ขนาดไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ ซึ่งถังดักไขมันมีให้เลือกใช้งานหลากหลายขนาดด้วยกัน ตั้งแต่ 15-140 ลิตร โดยมีเกณฑ์พิจารณาในการเลือกขนาดดังนี้
1. สมาชิกภายในบ้าน 1-5 คน ควรเลือกใช้ขนาด 15 ลิตร
2. สมาชิกภายในบ้าน 6-10 คน ควรเลือกใช้ขนาด 30 ลิตร
ส่วนประกอบของถังดักไขมัน
ถังดักไขมันจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ตะแกรงดักเศษอาหาร
ถือเป็นตัวกรอกอันดับต้นๆ ที่ทำหน้าที่ในการดักจับเศษอาหารจากท่อน้ำเข้า โดยมีลักษณะเป็นตะแกรงที่มีรูขนาดเล็กเรียงตัวไปทั่วทั้งแผ่น เพื่อแยกเศษอาหารหรือสิ่งต่างๆ ไว้และระบายน้ำลงสู่ถังดักจับไขมัน บ้านมินิมอลคอนกรีตเปลือย
2. ช่องแยกไขมัน
ในส่วนนี้ เมื่อน้ำจากท่อน้ำทิ้งส่วนต่างๆ ภายในบ้านมารวมกันที่ถังดักไขมัน น้ำกับไขมันจะทำการแยกส่วนออกจากกันอย่างชัดเจน โดยน้ำจะแยกตัวอยู่ด้านล่าง ในขณะที่ชั้นไขมันจะลอยตัวอยู่เหนือน้ำ เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบากว่า
3. ท่อระบายไขมัน
เป็นท่อที่ใช้ในการระบายไขมันที่ลอยตัวแยกออกมาจากน้ำ โดยจะถูกติดตั้งไว้ให้มีตำแหน่งสูงกว่าระดับท่อน้ำทิ้ง เพื่อให้ไขมันลอยตัวออกมาตามท่อระบายไขมันได้สะดวก
4. ท่อระบายน้ำทิ้ง
เป็นท่อน้ำทิ้งที่ใช้ระบายน้ำที่ผ่านการแยกไขมันออกจากน้ำเรียบร้อยแล้วลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้งสาธารณะนอกตัวบ้าน
วิธีติดตั้งถังดักไขมันแบบตั้งหรือแบบบนดิน
ด้วยข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ จึงทำให้ประเภทนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับใช้ติดตั้งในคอนโดมิเนียม บ้านทาวน์โฮม หรือห้องพักอาศัยต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ง่าย แต่ประสิทธิภาพการดักจับไขมันดีเยี่ยม รวมถึงการดูแล บำรุงรักษาก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ซึ่งมีวิธีติดตั้งถังดักไขมันแบบตั้งพื้น ดังนี้
1. เลือกขนาดตามการใช้งาน โดยใช้เกณฑ์การเลือกขนาดจากจำนวนสมาชิกภายในบ้านหรือห้องพัก
2. เลือกตำแหน่งในการติดตั้ง ซึ่งจะทำการติดตั้งถังดักจับไขมันไว้ในช่องเก็บของใต้อ่างล้างจาน เพื่อความสวยงามและเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับห้องที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก
3. จากนั้นทำการเชื่อมต่อท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างจานกับถัง
4. ทำการเชื่อมต่อท่อระบายน้ำทิ้งจากตัวถังเข้ากับท่อระบายน้ำทิ้งของห้องพัก
วิธีการบำรุงรักษา
1. ตรวจสอบปริมาณไขมันที่ถูกดักจับไว้ในถังดักจับไขมันเป็นระยะ วิลล่าภูเก็ต
2. กำจัดไขมันทิ้ง โดยการตักออก เมื่อมีการสะสมของปริมาณไขมันและน้ำมันมากขึ้น
วิธีติดตั้งถังดักไขมันแบบฝังดิน
วิธีติดตั้งถังดักไขมันแบบฝังดิน จะมีความยุ่งยากมากกว่าแบบตั้งพื้นเล็กน้อย เนื่องจากขุดฝังไว้ใต้ดินบริเวณด้วนนอกตัวบ้าน นอกจากนั้นตามภัตตาคารหรือห้องอาหารยังนิยมติดตั้งประเภทนี้อีกด้วย เนื่องจากน้ำมันปะปนมากับน้ำทิ้งในขั้นตอนการทำอาหารเป็นจำนวนมาก
การติดตั้งก็มีทั้งแบบสร้างเอง และแบบสำเร็จรูป ดังนี้
1. แบบสร้างเอง
โดยขนาดขั้นอยู่กับความต้องการการใช้งาน สามารถทำขึ้นโดยถังซีเมนต์ขัดหินหรือวงบ่อซีเมนต์ และราคาประหยัดกว่าแบบสำเร็จรูป อีกทั้งยังสามารถปรับให้เหมาะสมกับขนาดและพื้นที่ที่ต้องการได้
ขั้นตอนการติดตั้ง
– เลือกขนาดที่วงบ่อที่ต้องการ
– ทำการขุดหลุมโดยมีความกว้างและความลึกมากว่าขนาดวงบ่อถังดักไขมันเล็กน้อย
– ทำการเชื่อมต่อท่อน้ำทิ้งเข้ากับวงบ่อ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ภายใน (ตะแกร่งดักไขมัน, ช่องแยกไขมัน)
– ทำการเชื่อมต่อท่อระบายน้ำทิ้งที่ผ่านการแยกไขมันออกเรียบร้อยแล้วเข้ากับท่อระบายน้ำทิ้งสาธารณะ
2. แบบสำเร็จรูป
มีข้อดีในเรื่องของความสะดวกในการติดตั้งมากกว่าแบบสร้างเอง เนื่องจากตั้งถังมีอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมใช้งานเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่ทำการติดตั้งเข้ากับท่อน้ำทิ้งจากตัวบ้านก็สามารถใช้งานได้ทันที
ขั้นตอนการติดตั้ง
– เลือกซื้อถังดักไขมันสำเร็จรูปตามขนาดที่ต้องการ
– การขุดหลุมโดยมีความกว้างและความลึกมากว่าขนาดวงบ่อเล็กน้อย
– ติดตั้งสำเร็จรูปเข้ากับท่อน้ำทิ้งขาเข้า(ท่อน้ำทิ้งจากภายในบ้าน)
– เชื่อมต่อท่อระบายน้ำที่ผ่านการดักจับไขมันเข้ากับท่อระบายน้ำสาธารณะ
วิธีการบำรุงรักษา
1. ตรวจสอบความพร้อมการใช้งานเป็นประจำไม่ว่าจะเป็นฝาถังหรือตัวถัง
2. กำจัดไขมันทิ้ง โดยการตักออก เมื่อมีการสะสมของปริมาณไขมันและน้ำมันมากขึ้น เช่น เดียวกับการดูแลแบบตั้งพื้น เนื่องจากถังดักไขมันตามบ้านเรือนมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
วิธีการทำถังดักไขมันด้วยตัวเอง
ถังดักไขมันนอกจากจะซื้อมาใช้แล้ว ยังสามารถทำได้เอง ด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่หาได้ทั่วไป ซึ่งใช้หลักการณ์เดียวกับถังดักไขมันที่มีขายโดยทั่วไป โดยอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย
– ถังพลาสติก
– ท่อพีวีซี
– ตะกร้ากรองอาหาร
– ข้อต่อ 4 ชิ้น
วิธีการทำเริ่มต้นด้วยการนำถังพลาสติกมาเจาะรู ต่อด้วยท่อพีวีซีเพื่อระบายน้ำทิ้ง เจาะฝาถังพลาสติกให้มีขนาดเท่ากับตะกร้ากรองอาหาร บ้านทรงกล่อง 2 ชั้น
หลักการทำงานของถังดักไขมันนี้คือ ตะกร้าช่วยดักเศษอาหาร ถังพลาสติกจะแยกน้ำเสียเอาไว้ข้างใต้ ส่วนไขมันจะลอยตัวบนผิวน้ำ ซึ่งน้ำเสียจะไหลเข้าสู่ถังต่อไป ก่อนจะระบายลงที่สาธารณะ
การกำจัดไขมันนอกจากจะทำการตักทิ้งแล้ว ยังสามารถนำไขมันที่ได้จากมาทำเป็นปุ๋ยหมักไว้ใช้งานได้อีกด้วย โดยนำปุ๋ยหมักที่ได้รดรอบโคนต้นไม้ หรือผสมกับดินก่อนทำการปลูกผัก