บ้านแฝด เป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีความเป็นส่วนตัว แต่งบประมาณเอื้อมไปไม่ถึงบ้านเดี่ยว เนื่องจากบ้านแฝดบางประเภทมีลักษณะเหมือนบ้านเดี่ยวมาก ขณะที่ราคาย่อมเยากว่า และหากยิ่งมีการแต่งบ้านแฝดด้วยไอเดียดี ๆ บ้านแฝดก็จะน่าอยู่ไม่ต่างจากบ้านเดี่ยวเลย
รู้จัก บ้านแฝด
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (พ.ศ. 2522) บ้านแฝด หมายถึงอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ก่อสร้างติดกันสองบ้าน มีผนังแบ่งอาคารเป็นบ้าน มีที่ว่างระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินติดกับตัวอาคารด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของแต่ละบ้าน และมีทางเข้าออกของแต่ละบ้านแยกจากกันเป็นสัดส่วน วิลล่า
ประเภทของ บ้านแฝด
ในอดีตบ้านแฝดมักจะใช้ผนังชิ้นเดียวกันในการเชื่อมต่อกัน แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาบ้านแฝดที่มีการเชื่อมต่อกันในรูปแบบใหม่ๆ โดยบ้านแฝดแบ่งออกตามลักษณะโครงสร้างได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.เชื่อมเต็มผนัง โดยใช้ผนังร่วมกัน มีทั้งเชื่อม 2 ชั้น และเชื่อมกันเฉพาะชั้นล่าง แต่หลังคาแยกจากกัน ข้อดีคือได้พื้นที่ข้างบ้านฝั่งที่ไม่ติดกับบ้านข้างๆ มากขึ้น ข้อเสียคือมีความเป็นส่วนตัวน้อย เพราะอาจจะได้ยินเสียงของบ้านข้างๆ ได้
2.เชื่อมบางฟังก์ชัน โดยเลือกเชื่อมเฉพาะบางฟังก์ชันของตัวบ้าน เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ข้อดีคือเจาะช่องเปิดเพื่อรับแสงเพิ่มได้ โดยเฉพาะชั้นบนที่มีระยะห่างเกิน 2 เมตร ข้อเสียคือยังมีส่วนของผนังที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งอาจจะได้ยินเสียงของบ้านข้างๆ บ้าง บริษัทรับย้ายบ้าน
3.เชื่อมกันที่คานด้านบน โดยแนวคานจะเชื่อมจากตัวบ้านและหลังคาโรงรถ ไม่มีผนังที่ติดกันเลย ข้อดีคือมีลักษณะคล้ายบ้านเดี่ยว มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น สามารถเจาะช่องเปิดได้ทั้ง 4 ด้าน ข้อเสียคือฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่ผนังจะอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินไม่มาก เป็นระยะที่พอเดินผ่านได้ ซึ่งอาจทำให้เสียพื้นที่โดยไม่จำเป็น
4.เชื่อมกันที่คานใต้ดิน โดยส่วนที่เชื่อมกันเป็นแนวคานของบ้านทั้ง 2 หลังซึ่งอยู่ใต้ดิน ด้านบนไม่มีส่วนใดเชื่อมกัน ข้อดีคือมีลักษณะเหมือนบ้านเดี่ยวมาก ข้อเสียคือข้อจำกัดของบ้านแฝดซึ่งมีขนาดที่ดินไม่ใหญ่มาก ทำให้ฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้าน ยังคงมีระยะห่างไม่มากนัก ซึ่งถ้าไม่เกิน 2 เมตร ก็จะไม่สามารถเจาะช่องเปิดได้
ข้อดี-ข้อด้อยของบ้านแฝดแต่ละประเภท
เชื่อมเต็มผนัง
ข้อดี : ได้พื้นที้ด้านข้างมากขึ้น
ข้อเสีย : มีความเป็นส่วนตัวน้อย
เชื่อมบางฟังก์ชั่น
ข้อดี : เพิ่มช่องแสงได้
ข้อเสีย : มีโอกาสได้ยินเสียงจากบ้านข้าง ๆ
เชื่อมกันที่คานด้านบน
ข้อดี : มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ข้อเสีย : เสียพื้นที่โดยไม่จำเป็น
เชื่อมกันที่คานใต้ดิน
ข้อดี : เหมือนอยู่บ้านเดี่ยว
ข้อเสีย : มีระยะห่างจากฝั่งเพื่อนบ้านไม่มากนัก
อยากต่อเติมตกแต่งบ้านแฝด ต้องทำอย่างไร
ในกรณีที่ต้องการแต่งบ้านแฝด โดยต่อเติมเพิ่ม หรือดัดแปลงบางส่วนของบ้าน ตามกฎหมายกำหนดว่าหากมีการเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของหลังคาหรือพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งของบ้านรวมกันมากกว่า 5 ตารางเมตร หรือมีการเปลี่ยนแปลงส่วนใด ๆ ภายในบ้านด้วยวัสดุชนิดเดิมหรือวัสดุที่แตกต่างจากเดิมซึ่งไปเพิ่มน้ำหนักให้แก่ส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างบ้านเดิมเกิน 10% ต่อเติมหน้าบ้าน
เจ้าของบ้านต้องไปขออนุญาตกับทางเขต องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาลซึ่งดูแลรับผิดชอบพื้นที่ที่ตัวบ้านตั้งอยู่ นอกจากนั้นยังควรแจ้งให้เพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันทราบด้วยว่าจะมีการต่อเติมหรือดัดแปลงบ้าน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนต่อเติมตกแต่งบ้านแฝด
- กฎหมายกำหนดว่าบ้านแฝดจะต้องมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น ต้องมีขนาดที่ดินไม่ต่ำกว่า 35 ตารางวา มีหน้ากว้างที่ดินขั้นต่ำ 8 เมตร แต่จะไม่สามารถสร้างเต็มที่ดินได้ โดยต้องมีพื้นที่ด้านข้างว่างมากกว่าหรือเท่ากับ 2 เมตร และต้องไม่มีสิ่งก่อสร้างปกคลุม แต่สามารถแต่งบ้านแฝดโดยการจัดสวน ปลูกต้นไม้ได้ตามปกติ
- สำหรับหน้าบ้านต้องมีระยะร่นจากแนวผนังบ้าน 3 เมตร และหลังบ้านอีก 2 เมตร โดยในส่วนของระยะร่นอนุโลมให้มีหลังคาปกคลุมได้ แต่ห้ามมีโครงสร้างปิดทึบ และต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของเพื่อนบ้านประมาณ 50 เซนติเมตร
- ส่วนที่เชื่อมกันทั้งผนังหรือคานที่ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกับเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน หากจะทุบหรือดัดแปลงต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านก่อน
- หากต้องการเจาะช่องเปิด/หน้าต่าง ต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของเพื่อนบ้านเกิน 2 เมตร
4 ไอเดียแต่งบ้านแฝดให้น่าอยู่
แม้บ้านแฝดจะให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัยมากกว่าทาวน์เฮาส์ แต่เนื้อที่รอบบ้านตลอดจนพื้นที่ใช้สอยในบ้านก็ยังไม่เทียบเท่าบ้านเดี่ยว ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถใช้ไอเดียแต่งบ้านแฝดช่วยได้ วิลล่าภูเก็ต
- เลือกใช้สีอ่อนเป็นหลัก การเลือกสีขาว ครีม เหลืองอ่อน เทาอ่อน หรือฟ้าอ่อนทาผนังบ้าน จะช่วยให้บ้านดูสว่าง สบายตา รู้สึกโปร่งโล่ง นอกจากนั้นการเลือกเฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านแฝดโทนสีอ่อน อย่างสีขาว สีเบจ หรือเฟอร์นิเจอร์ไม้สีอ่อน ก็ช่วยให้การตกแต่งโดยรวมของบ้านดูเข้ากันมากขึ้น
- เจาะช่องเปิด/หน้าต่าง เพื่อเพิ่มแสงสว่างเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้บ้านโปร่งโล่งมากขึ้น แต่ต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของเพื่อนบ้านมากกว่า 2 เมตร หรือจะเจาะฝั่งที่หันออกด้านหน้าบ้านและหลังบ้านก็ได้
- ใช้เฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อินและเฟอร์นิเจอร์มัลติฟังก์ชัน เฟอร์นิเจอร์บิวท์อินถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะที่สุดสำหรับบ้านที่มีพื้นที่น้อย เพราะช่วยให้ประหยัดพื้นที่ในการวางเฟอร์นิเจอร์ เก็บของได้เป็นระเบียบ และมีความกลมกลืนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของตัวบ้าน
ส่วนเฟอร์นิเจอร์มัลติฟังก์ชั่น เช่น เตียงที่สามารถเก็บของได้ โต๊ะทำงานที่สามารถขยายออกได้ ก็จะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน นอกจากนี้ยังควรวางเฟอร์นิเจอร์ให้ติดกับผนัง เพื่อให้ทางเดินกว้างขึ้นและดูไม่ทึบ - เพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการจัดสวน ปลูกต้นไม้บริเวณรอบบ้าน ช่วยให้บ้านดูร่มรื่น และยังอาจทำพื้นที่นั่งเล่นเล็กๆ ในสวนนอกบ้านได้ ให้อารมณ์คล้ายอยู่บ้านเดี่ยว