white-nordic-house-2
ตกแต่งบ้าน รีวิวบ้าน

บ้านนอร์ดิกโทนสีขาว

บ้านนอร์ดิกโทนสีขาว

บ้านนอร์ดิกโทนสีขาว เป็นรูปแบบบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมของยุโรปตอนเหนือ ถือเป็นอีกหนึ่งสไตล์บ้านที่กำลังเป็นที่พูดถึงมาก อยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะใครที่ หลงใหล ตกหลุมรักบ้านสวย ดีไซน์สวย เรียบง่าย และชวนผ่อนคลาย รวมถึงการออกแบบที่เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัย Nordic House Style คือสไตล์บ้านในฝันที่หลายๆ คนหลงใหล และกำลังมองหาอยู่แน่นอน

นอร์ดิกเป็นสไตล์บ้านแถบคาบ สมุทรสแกนดิเนเวีย โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ สวีเดน, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์ บ้านสไตล์นอร์ดิกจะมีเอกลักษณ์ ในเรื่องของความอบอุ่น เรียบง่าย เน้นความโปร่งโล่ง และมีจุดเด่นก็ คือ รูปทรงจั่วคล้ายกับโรงนาในยุโรป เน้นความเป็นธรรมชาติของสี และวัสดุอุปกรณ์

รวมไปถึงประโยชน์ ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกจึงมักมีด้านที่เป็นกระจกช่วย เพิ่มแสงสว่าง และความอบอุ่น ปัจจุบันบ้านสไตล์นอร์ดิกได้มีการประยุกต์ และผสมผสาน กับทั้งสไตล์มินิมอล สไตล์โมเดิร์น สไตล์ลอฟต์ปูนเปลือย หรือจะไปแนวสไตล์หรูหรา ก็เป็นที่นิยมอย่างมาก

เรื่องที่น่าสนใจ : บ้านสไตล์รีสอร์ท , Loft style house

จุดต้องระวัง เมื่อคิดสร้าง บ้านนอร์ดิกโทนสีขาว

1. บ้านนอร์ดิก ฝนสาด ผนังชื้น

1. บ้านนอร์ดิก ฝนสาด ผนังชื้น

เสน่ห์ของ Modern Barn คือเส้นสายของหลังคา แบบไร้ชายคา หากใส่กันสาดเข้าไปอาจทำให้เสน่ห์ ของบ้านสไตล์นี้ลดลงไปได้ เจ้าของบ้านจึงต้องทำความเข้าใจ เพื่อออกแบบรับมือ กับความชื้นบนผนัง และฝนสาดให้ได้ตั้งแต่ต้น เช่น จุดพักผ่อนสำคัญ อย่างห้องนั่งเล่น ให้ออกแบบด้วยวิธีการร่นผนังเว้าเข้าไป เพื่อให้หลังคาทำหน้าที่ เป็นกันสาดไปในตัว

ส่วนปัญหาฝนสาดบริเวณ หน้าต่างฝั่งที่ไม่มีชายคา จำเป็นต้องเลือกบานหน้าต่างขอบอลูมิเนียม หรือไวนิล จะช่วยป้องกันน้ำซึม ได้ดีกว่าวงกบไม้ ส่วนปัญหาผนังชื้น สามารถป้องกันได้ด้วย การทาสีที่มีคุณสมบัติป้องกันความชื้น ป้องกันเชื้อรา กรณีต้องการทำเฉลียงพักผ่อน ให้ออกแบบเฉลียงยื่นออกจากตัวบ้าน โดยเลือกใช้หลังคากล่องแบน จะช่วยให้ภาพรวมของบ้านดูเข้ากัน การมีเฉลียง จึงช่วยกันฝนสาด และกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้

2. หลังคารั่วซึม

แม้ว่าบ้าน Modern Barn จะมีจั่วสูงแต่ก็อาจเกิด ปัญหารั่วซึมบนหลังคาได้หากขาดการมุงหลังคาที่ดี การรับมือกับปัญหานี้สามารถ ทำได้ด้วยการการออกแบบความลาดเอียง ของหลังคาให้เหมาะสม กับรุ่นวัสดุหลังคานั้น ๆ เช่น หลังคากระเบื้องแผ่นเรียบ SCG รองรับองศาความชันที่ 25 องศา แต่หากต้องการให้การระบายน้ำทำได้ดีขึ้น ควรออกแบบให้หลังคา ชันมากขึ้นที่ 30-35 องศา จะช่วยลดปัญหารั่วซึม และปัญหาน้ำไหลย้อน

อีกจุดที่มักมีปัญหากับหลังคาจั่วคือ ปั้นลม ทำหน้าที่กันลมไม่ให้ปะทะกับกระเบื้องหลังคาโดยตรง และช่วยกันน้ำฝน ไม่ให้เข้าอาคาร วัสดุที่นิยมนำมาใช้เป็นปั้นลม มีทั้งไม้จริง ไม้สังเคราะห์ ปั้นลม คสล. หรือที่นิยมมากในยุคปัจจุบันและดูเข้ากับ บ้านสไตล์นอร์ดิก คือ การนำไม้ C Channel มาประยุกต์ใช้ ทำให้ดูเสมือน บ้านโครงสร้างเหล็ก

ไอเดียบ้านสไตล์นอร์ดิกสวยๆ

ไอเดียบ้านสไตล์นอร์ดิกสวยๆ

สไตล์การแต่งบ้านเป็นรสนิยม ส่วนตัวที่ไม่มีขีดจำกัด เพราะปัจจุบันโลกเหมือนถูกทำให้แคบลง บ้านเขตร้อนก็ไม่จำเป็นต้อง อยู่ในเขตร้อนเท่านั้น หรือบ้านเขตหนาวก็ไม่ได้สร้างเฉพาะโซน เมืองหนาวอีกต่อไป เราจึงเห็นการส่งผ่านแนวคิดใน การสร้างบ้านจากที่หนึ่งไปยังซีกโลกอื่นๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างในบ้านเรา Concept

บ้านสไตล์นอร์ดิก ก็เป็นหนึ่งรูปแบบบ้านที่นิยม (แม้บ้านเราจะร้อนมากก็ตาม) สำหรับใครที่ชื่นชอบเส้นสายคมชัด ภายในอารมณ์คลีน ๆ แสงอาทิตย์สวยๆ ดูอบอุ่นน่าจะชื่นชอบแบบบ้านแบบนี้ แต่ก่อนนำไปสร้างอย่าลืมปรึกษากับสถาปนิกเพื่อปรับรายละเอียดบาง อย่างให้อยู่สบายในบ้านเขตร้อนด้วย

บ้านหลังคาจั่วเรียบๆ สีขาวสะอาดตาสไตล์โมเดิร์นมินิมอลหลังนี้ สร้างในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เนื้อที่ประมาณ 276 ตารางเมตร ทั้งรูปทรงเส้น และสีสันจะรู้สึกถึงความนิ่ง คมชัด แต่ตัดด้วยความอบอุ่นของอิฐสีเทา และงานไม้ธรรมชาติที่ทำให้บ้านดูนุ่มนวล ไม่แข็งกระด้างจนเกินไป จากภายนอกจะเห็นอาคารชั้นบนที่ยื่น ออกมาเหนือทางเข้า เน้นให้เห็นจุดเด่น ของบ้านที่ชัดเจน

เรื่องที่น่าสนใจ : บันไดมงคล , บ้าน Nordic

ออกแบบในสไตล์ที่ไม่มีใครเหมือน เรียบหรู ดูแพง

ออกแบบในสไตล์ที่ไม่มีใครเหมือน เรียบหรู ดูแพง

สำหรับด้านหลังหน้าตาจะต่างจากหน้าบ้าน บ้านนอร์ดิกโทนสีขาว แต่สิ่งที่เหมือนกันอยู่ที่ช่องเปิดเป็นหน้าต่างขนาดใหญ่โชว์พื้นที่ใช้สอยภายใน ห้องที่เห็นเด่นชัดคือ ห้องนั่งเล่นที่หันไปทางทิศเหนือ เปิดออกสู่สวนด้านหลังที่กว้างขวาง ส่วนปีกด้านขวาจะเป็นห้องทานข้าวที่ชมสวนได้เช่นกัน

เมื่อเปิดประตูไม้เข้ามาจะพบ กับโถงบันไดที่มีช่องว่างขนาดใหญ่เจาะลึกเข้าไปในแปลน นำแสงสว่างไปยังช่องว่างด้านล่าง และมีประตูบานเลื่อนแบบ pocket door รอต้อนรับอีกชั้น แล้วนำทางลงไปยัง ห้องนั่งเล่นที่เต็มไปด้วยความโปร่งและสว่าง

ตัวบ้านบ้านตอบสนองต่อ พื้นที่ลาดเอียงภายใน ด้วยการเล่นระดับ เมื่อบางส่วนของบ้านต่ำลง ก็ทำให้ความสูงของ เพดานเพิ่มขึ้น อย่างเช่น ในห้องนั่งเล่นที่อยู่ต่ำลงไปกว่าส่วนอื่นๆ ทำให้บ้านดูไม่อึดอัด ในห้องนั่งเล่นนี้จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ และบริบทรอบข้างได้มาก ด้วยพื้นที่เชื่อมต่อสวน และหันหน้าไปทางเหนือ ให้แสงที่มีคุณภาพ จึงติดตั้งหน้าต่างกระจก ขนาดใหญ่ใส่เบย์วินโดว์ให้นั่งเล่นชมวิว พร้อมฟังก์ชันที่เก็บ ของบิลท์อินที่ซ่อนในผนัง

ออกแบบให้มีพื้นที่จัดเก็บ สีขาวเพิ่มมากขึ้น

ออกแบบให้มีพื้นที่จัดเก็บ สีขาวเพิ่มมากขึ้น

ด้านหนึ่งของห้องนั่งเล่นจะมีบันได 2-3 ขั้นนำทางขึ้นไปที่ครัวแบบเปิด ออกแบบให้มีพื้นที่จัดเก็บสีขาวมากมายที่ดูแนบเนียนไปกับผนังสีขาว ส่วนทางแยกเข้าไปทางด้านขวาจะเป็นห้องทานข้าว ทุกส่วนของบ้านจึงเป็นสัดส่วนแต่เชื่อมต่อถึงกันได้หมด และใช้ข้อจำกัดให้กลายเป็นจุดเด่นได้อย่างน่าสนใจ

ห้องทานข้าวขนาดใหญ่ที่ตกแต่งด้วยโต๊ะไม้ และเบาะปูนั่งสีขาว ประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่ทำให้บ้านโปร่ง เบา สว่าง ไม่ต้องเดาก็พอจะรู้ว่ารสนิยมของเจ้าของบ้านต้องชื่นชอบ สไตล์นอร์ดิกอย่างแน่นอน ในบ้านนี้มีห้องนั่งเล่นมี 2 ห้อง ที่ปีกหนึ่งของบ้านมี ประตูบานเลื่อนไม้ซ่อน ห้องผิงไฟอุ่น ๆ อยู่เหมือนเป็น the secret place ซึ่งตกแต่งให้ดูลึกลับ ด้วยชุดโซฟาสีม่วงเข้มๆ ผนังสีเขียวอมเทา ให้ความรู้สึกเป็นทางการ แตกต่างจากห้องอื่นๆ จึงใช้ต้อนรับแขกแบบส่วนตัว ได้ดีกว่าอีกห้องที่ค่อนข้าง เปิดมีสมาชิกในบ้านเดินเข้าออกได้ตลอด

สิ่งที่แทบทุก พื้นที่จะมีเหมือน ๆ กันคือ ธีมของวัสดุที่เน้นอิฐโชว์ แนวทาสีขาวเป็นพื้นหลัง แทรกด้วยงานไม้ให้สี และลวดลายธรรมชาติ อาจใส่ลูกเล่นบ้างด้วยการวางแพทเทิร์น พื้นไม้ให้แตกต่าง เป็นลายก้างปลา พร้อมกับจัดวางช่องแสง Skylight รับแสงเข้ามาจากด้านบน อย่างเช่น ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโถงบันได ที่มีหลังคาโปร่งใสยาว ไปตลอดแนว ช่วยให้บ้านสว่างประหยัด พลังงานไฟฟ้าใน ช่วงกลางวันได้ดี

ข้อดีและลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก

  • 1. การออกแบบตัวอาคารลักษณะ เป็นทรงเรขาคณิตที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อน หรือเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ หลังคาทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่ง สบาย การออกแบบที่ คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความสวยงาม เน้นช่องแสงจากกระจกใน การรับแสงจากธรรมชาติ
  • 2. การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงใ นระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้ อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา
ข้อดีและลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก
  • 3. เน้นความเป็นธรรมชาติ บรรยากาศ ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจ จากวัสดุตกแต่งบ้านตาม สไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น